thaiall logomy background

อาจารย์ศักดิ์ สักเสริญ รัตนชัย (Sak Rattanachai)

my town
ศักดิ์ รัตนชัย | แก้วตาแม่ | ศักดิ์ 2002 | FB:ศักดิ์รัตนชัย
หนังสือ ประวัติและผลงาน ของ อ.ศักดิ์ สักเสริญ รัตนชัย
นังสือ ประวัติและผลงาน ของ อ.ศักดิ์ สักเสริญ รัตนชัย ในแบบอีบุ๊กที่ อ.ตาลทิพย์ แก้วกำเนิด หรือ อ.เจี๊ยบ ที่เคารพของศิษย์เก่ารุ่นแรก ของ วิทยาลัยโยนก เมื่อ 30 กว่าปีก่อน ได้อนุญาตให้ผมได้ทำเป็นอีบุ๊ก เผยแพร่เป็นสาธารณะให้เยาวชนได้เรียนรู้ผลงาน และวิถีแห่งปราชญ์ด้านศิลปวัฒนธรรม ที่โดดเด่นเป็นที่ยอมรับระดับชาติ และมีผลงานมากมายหลายรูปแบบ ให้ได้อ่าน ได้ฟัง ได้ดู และปรับใช้สำหรับตน
ดยหนังสือที่นำมาทำอีบุ๊ก ได้รับความอนุเคราะห์ให้ยืมเล่มจาก อ.ป้อม หรือ อ.อาภาพร ซึ่ง อ.ศักดิ์ เคยขึ้นภาพ อ.ป้อม เป็นภาพปกคนแรกของข่าวออนไลน์ชื่อ #สกุลเมือง และผมไม่ได้ตัดปกเพื่อนำเข้าเครื่องสแกนแบบฟีดอัตโนมัติ แต่แกะแม็คแล้วใช้โทรศัพท์บันทึกภาพทีละหน้า แล้วนำเอกสารมาประกอบกลับให้เหมือนเดิม เพื่อนำไปคืน อ.ป้อม ประกอบกับร่างกายที่ไม่แข็งแรงเหมือนตอนหนุ่ม จึงทำให้งานอีบุ๊กมีแสงและเงาที่ไม่คมเหมือนเล่มเอกสาร
ด้ปรับอีบุ๊กโดยเพิ่มเติมเนื้อหาจากเล่มเอกสารอยู่ก่อนปกหลัง เป็นคำนิยมของหลายท่าน เช่น ท่านพุทธทาสที่ได้เขียนให้กับหนังสือแก้วตาแม่ ของ อ.ศักดิ์ ซึ่ง อ.เจี๊ยบ ได้ส่งภาพเพิ่มเติม แล้วโทรมาเล่าเรื่องราวของหนังสือที่นำไปทำละครเวที และพูดถึงผลงานเพลงที่ท่านได้แต่งไว้ ทำให้รู้ว่าหนังสือเล่มนี้ยังมีเนื้อหาประวัติและผลงานที่น่าเติมเต็มได้อีกมาก
อกจากนี้มีผู้เกี่ยวข้อง สื่อทุกสำนัก สมาคม องค์กร มหาวิทยาลัย อาจารย์ นักศึกษา และชาวลำปาง ที่ร่วมกันไว้อาลัยการจากไปของ อ.ศักดิ์ มีการพูดถึงผลงานของท่านในสื่อสังคมอย่างแพร่หลาย เช่น เพลงร่ำเปิงลำปาง หนังสือการ์ตูนเมตตาธรรมค้ำจุนโลกา เรื่องแก้วตาแม่ และด้วยผลงานมากมายตลอด 95 ปีของท่าน ซึ่งการรวบรวมผลงานในเวลาอันสั้นแล้วนำไปถ่ายเอกสารออกมาเป็นรูปเล่มเอสีเกือบร้อยหน้า ที่มีคณะผู้จัดทำ คือ สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดลำปาง และลูกหลาน ดูจะเล่มเล็กเกินไปที่จะบอกเล่าผลงานของท่านได้ทั้งหมด
ากผู้สนใจต้องการตามรอยวิถีปราชญ์ของท่าน ต้องลองอ่านหนังสือดูครับ แล้วมาแลกเปลี่ยนพูดคุยกันได้ ซึ่งเชื่อว่า ถ้าผู้อ่านได้อ่าน ค้น และติดตามผลงานของท่านต้องมีอึ้งกันบ้างหละ เพราะผลงานแน่นทั้งปริมาณและคุณภาพจริงครับ
บล็อก ประวัติและผลงาน ของ อ.ศักดิ์ สักเสริญ รัตนชัย
มติชน ทานสะเปาคำ โดย เพ็ญสุภา สุขคตะ
MGR Online สุดอาลัย ลูกศิษย์ร่วมรำดาบ-ฟ้อนเพลง ร่ำเปิงลำปาง หน้าเมรุ
สารบัญ หนังสือ ประวัติและผลงาน ของ อ.ศักดิ์ สักเสริญ รัตนชัย อีบุ๊ก (e-book)
อีบุ๊ก แหล่งเผยแพร่ที่ 1 : scribd.com
อีบุ๊ก แหล่งเผยแพร่ที่ 2 : pubhtml5.com
สารบัญ (ใช้เลขหน้าตาม e-book ตั้งแต่ 1 - 93)
1. หน้าปก1
2. ปกใน2
3. สำนักพระราชวัง3 - 4
4. สำนักในพระมหากรุณาธิคุณ5
5. กำหนดการ6
6. รัตนชยาลัยกถา (คำไว้อาลัย) : เจ้าอาวาสวัดพระเจดีย์ซาวหลัง พระอารามหลวง7
7. คำไว้อาลัย : เจ้าอาวาสวัดพระแก้วดอนเต้าสุดชาดาราม พระอารามหลวง8
8. ระลึกถึง อาจารย์ศักดิ์ สักเสริญ รัตนชัย : ดร.อุดมศักดิ์ ศักดิ์มั่นวงศ์9
9. คำไว้อาลัย อาจารย์ศักดิ์ สักเสริญ รัตนชัย ผู้มีผลงานดีเด่นด้านวัฒนธรรม : วัฒนธรรมจังหวัดลำปาง10
10. คำไว้อาลัย อาจารย์ศักดิ์ รัตนชัย : ผู้อำนวยการมหาวิทยาลัยสวนดุสิต ศูนย์การศึกษาลำปาง11 - 12
11. อัจฉริยบุรุษ สุดประเสริฐยิ่งนัก "อาจารย์ ศักดิ์ รัตนชัย" : ประดิษฐ สรรพช่าง13
12. ข่าวสาร กลุ่มพิธีการฯ : สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดลำปาง14
13. ค่าใช้จ่าย15
14. มูลนิธิส่งเสริมงานวัฒนธรรมลำปาง สนับสนุนน้ำดื่ม และน่ำแข็ง15
15. ท่าฟ้อนเผียไหม16 - 17
16. เอกสารหลักฐานผลงานเพื่อเสนอขอประกาศเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง18 - 19
17. สารบัญ (ตามเล่มเอกสาร)20
18. ประวัติและผลงาน อาจารย์ศักดิ์ สักเสริญ รัตนชัย21 - 40
19. ความหลัง ความทรงจำ ชุดภาพงานแสดงแห่งชีวิต ศักดิ์ สักเสริญ รัตนชัย41 - 59
20. ศักดิ์ สักเสริญ รัตนชัย ผู้บุกบั่น ฟันฝ่า ตามหาอาจารย์ สุดขอบฟ้า ร่ำเปิงถึงความหลัง : ผศ.ณรงค์ สมิทธิธรรม60 - 63
21. แด่ปูชนียะ อาจาริยะ ศักดิ์ ส.รัตนชัย : อาจารย์ประดิษฐ สรรพช่าง64 - 67
22. ซอสะหรีสักเสิน เชิดชูเกียรติ อาจารย์ศักดิ์ สักเสริฐ รัตนชัย ปราชญ์ท้องถิ่น ผู้ถ่ายทอดและสืบทอดตำนานแผ่นดิน : ผศ.ณรงค์ สมิทธิธรรม68 -70
23. การ์ตูนในพระพุทธศาสนา เรื่อง แก้วตาแม่ เอกสารชุดที่ 1271 - 88
24. เอกสารเพิ่มเติม เรื่อง แก้วตาแม่ : อ.ตาลทิพย์ แก้วกำเนิด89 - 92
25. ปกหลัง93
อ่านเพิ่มเติม
เอกสารหลักฐานผลงานเพื่อเสนอขอประกาศเชิดชูเกียรติ
ประวัติและผลงาน ของ อ.ศักดิ์ สักเสริญ รัตนชัย ประวัติและผลงาน ของ อ.ศักดิ์ สักเสริญ รัตนชัย การ์ตูนในพระพุทธศาสนา เรื่อง แก้วตาแม่ เป็นผลงานด้านการ์ตูนชิ้นเอกของอาจารย์ศักดิ์ ส.รัตนชัย ในการสอนธรรมะด้วยภาพ ปี พ.ศ. ๒๕๐๘
บข้อมูลจากหนังสือ ประวัติและผลงาน ของ อ.ศักดิ์ สักเสริญ รัตนชัย หน้า ๑๘-๒๐ ที่แจกให้กับผู้ไปร่วมงานพิธีพระราชทานเพลิงศพ เมื่อวันที่ ๒๘ มกราคม ๒๕๖๖ พบว่าในเนื้อหาระบุถึง เอกสารหลักฐานผลงานเพื่อเสนอขอประกาศเชิดชูเกียรติ เป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง พุทธศักราช ๒๕๖๖ มีเอกสารประกอบทั้งหมด ๑๒ รายการ ดังนี้
เอกสารชุดที่ ข-๑ "พิธีเชิดชูเกียรติ เพชรสยาม ครั้งที่ ๑๔ ประจำพุทธศักราช ๒๕๕๑" ได้รับรางวัลเพชรสยาม ด้านศิลปะการแสดงพื้นบ้าน
เอกสารชุดที่ ข-๒ "ศิลปนิพนธ์ ศึกษาศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชานาฏศิลป์ไทยศึกษา ภาควิชานาฏศิลป์ศึกษา คณะศิลปศึกษา สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ พ.ศ. ๒๕๕๖ เรื่อง การศึกษากระบวนการประดิษฐ์ท่าฟ้อนเผียไหม"
เอกสารชุดที่ ข-๓ "คู่มือศึกษาการแสดงศิลปะพื้นบ้าน โดย อาจารย์ศักดิ์ ส.รัตนชัย"
เอกสารชุดที่ ข-๔ "วันเชิดชูเกียรติ ศักดิ์ ส. รัตนชัย คุณูปการที่สรรค์สร้าง โดย สำนักศิลปะวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง"
เอกสารชุดที่ ข-๕ "รายงานนักศึกษาแลกเปลี่ยน OIU เสนอ อาจารย์ศักดิ์ ส.รัตนชัย พร้อมประสบการณ์ภาคสนาม เป็นเอกสารายงานที่เสนอเกี่ยวกับศิลปะพื้นเมืองหลักสูตร Yonok Okinawa ในศิลปะร้องรำทำเพลงกับการวัดผลการสอน ผลงานแสดงต่างประเทศที่ไต้หวัน ครั้งที่ ๑๑/๒๐๐๖"
เอกสารชุดที่ ข-๖ "ตำนานเพลงอมตะ ๑ ร่ำเปิงลำปาง โดย ศักดิ์ รัตนชัย ชุดสร้างสรรค์จรรโลงใจโดยกลุ่มศิลปินเพลงรุ่นอมตะ"
เอกสารชุดที่ ข-๗ "เพลงเฉลิมพุทธศตรวรรษ ๒๕-๒๖ ธรรมวิจัยปฏิรูป เทสวาสะ เศรษฐกิจพอเพียงเลี่ยงสิ่งเสพติดอบายภูมิ ๒๕๐๐-๒๕๕๕ฯ ๕๕ ปี เพลง ศักดิ์ ส.รัตนชัย สำนักศิลปะและวัฒนธรรมมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง"
เอกสารชุดที่ ข-๘ "เอกกษัตริย์อัจฉริยะ"
เอกสารชุดที่ ข-๙ "เยี่ยมบ้านศิลปินครั้งที่ ๗"
เอกสารชุดที่ ข-๑๐ "คู่มือศึกษาการแสดงพื้นบ้านที่พัฒนาจากฟ้อนเชิง"
เอกสารชุดที่ ข-๑๑ "จุดประวัติศาสตร์โอเปร่า"
เอกสารชุดที่ ข-๑๒ "การ์ตูนในพระพุทธศาสนา เรื่อง แก้วตาแม่" เป็นผลงานด้านการ์ตูนชิ้นเอกของอาจารย์ศักดิ์ ส.รัตนชัย ในการสอนธรรมะด้วยภาพ ปี พ.ศ. ๒๕๐๘
ด้วยอาลัยยิ่ง อ.สักเสริญ (ศักดิ์) รัตนชัย าจารย์ สักเสริญ (ศักดิ์) รัตนชัย สื่อมวลชนอาวุโส ปราชญ์ท้องถิ่นผู้เชี่ยวชาญประวัติศาสตร์จังหวัดลำปาง และประพันธ์เพลง "ร่ำเปิงลำปาง" ได้จากไปอย่างไม่มีวันกลับ ด้วยอายุ 95 ปี เมื่อวันเสาร์ที่ 21 มกราคม 2566 เวลาประมาณ 6.35 น. ในขณะมีชีวิตอยู่ท่านได้ทำ ผลงานไว้มากมาย อาทิ
ผลการคัดเลือกผู้ได้รับรางวัลภูมิแผ่นดิน ปิ่นล้านนา ประจำปี พ.ศ. 2560
ครูภูมิปัญญาไทย ด้านภาษาและวรรณกรรม รุ่นที่ 5 พ.ศ.2549
ผลงาน : องค์ความรู้ ครูสักเสริญ (ศักดิ์) รัตนชัย มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านภาษาและวรรณกรรมโดยเฉพาะประวัติศาสตร์ล้านนา ภาษาคำเมือง และอักษรไทยถิ่นเหนือ จนได้รับการเชิญไปเป็นคณะทำงานการสร้างพจนานุกรมภาษาไทยถิ่นเหนือ และเป็นที่ปรึกษาคณะโครงการจัดทำพจนานุกรมภาษาไทยเหนือ ฉบับแม่ฟ้าหลวง และพจนานุกรม ฉบับราชภัฏเชียงใหม่ นอกจากนี้ยังมีความเชี่ยวชาญด้านดนตรีพื้นเมือง ได้คิดประดิษฐ์วิธีการสอนโน้ตและอักขระนิ้วมือ (โน้ตนิ้วมือ) ซึ่งใช้สอนในระดับนานาชาติ ผลงานโดดเด่น • แต่งตำราสอนอักษรพื้นเมืองและคิดวีสอนอักขระนิ้วมือและประดิษฐ์ Font Sakdi Tuaa Tham ระบบ Macintoch เพื่อเขียนอักษรธรรมในตำราเรียน • การสอนอักษรธรรมจากมทักษะภาษาไทยทฤษฎีใหม่อักษรสองหมู่ • ภาพอักขระและโน้ตนิ้วมือสู่งานตำรา • ปริวรรตอักษรสูตรธรรมใบลานเป็นตำรา
คนดีศรีแผ่นดิน พ.ศ.2549 ตัวแทนจังหวัดลําปาง
ได้รับ 2 เครื่องราชอิสริยาภรณ์
ได้รับ 4 รางวัลพระราชทาน
นายกสมาคมผู้สื่อข่าวภาคเหนือ เจ้าของบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ท้องถิ่น ภาคเหนือนิวส์เสียงโยนก
นายกสมาคมเพื่อการรักษาสมบัติและวัฒนธรรมฯ (ประจําจังหวัดลําปาง)
นายกสมาคมดนตรีนครลําปาง และสมาชิกตลอดชีพสมาคมดนตรีแห่งประเทศไทย
ประธานสภาสังคมสงเคราะห์ ภาค 5
สมาชิกสมัชชาแห่งชาติ พ.ศ.2549
ผู้ก่อตั้งสโมสรโรตารี่ลำปาง
ผู้ก่อตั้งสํานักจุมสะหรีลําปาง (วิถีชีวิตและศิลปะการแสดงพื้นบ้าน)
ผู้เชี่ยวชาญประจําสํานักวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏลําปาง
ผู้บรรยายและอาจารย์พิเศษ มหาวิทยาลัยราชภัฏลําปาง
ผู้บรรยายและอาจารย์พิเศษ มหาวิทยาลัยโยนก
นักวิชาการประวัติศาสตร์ และภาษาศาสตร์โบราณ (คําเมือง)
สมาชิกยุวพุทธิกสมาคมฯ ผู้ก่อตั้งโรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์ แต่งเพลง บรรยายเผยแพร่
กรรมการสมาคมท่องเที่ยว กรรมการ ก.ร.อ.จังหวัด กรรมการสภาวัฒนธรรมจังหวัด
กรรมการอื่น ๆ อีกมากมาย
ประวัติจังหวัดลำปาง
ลำปางในวิกิพีเดีย ลำปางในวิกิพีเดีย
สืบค้นเมื่อวันที่ 9 ม.ค.2567 พบว่า วิกิพีเดีย มีเนื้อหาเกี่ยวกับจังหวัดลำปางอย่างละเอียด และมีข้อมูลหลายหัวข้อที่อ้างอิงผลงานของ อ.ศักดิ์ รัตนชัย ซึ่งพบเอกสารอ้างอิงที่มีชื่อของท่านในหลายรายการ ได้แก่ [23] , [33] , [34] และ [37] จากทั้งหมด 55 รายการ เนื้อหาส่วนใหญ่เป็นข้อมูลเกี่ยวกับประวัติศาสตร์การสร้างเมืองลำปาง เอกสารที่ได้รับการอ้างอิง ได้แก่ “เมืองนคร-เมืองลำปาง” ใน ของดีนครลำปาง, 2512 และ “ประวัตินครลำปาง” ใน อนุสรณ์การแข่งขันกีฬาเขต 5 ครั้งที่ 7 ณ จังหวัดลำปาง 24 มิถุนายน 2516, น.67-68
ผลงานของ ศักดิ์ รัตนชัย ผู้แต่งเพลง ร่ำเปิงลำปาง

วิเชิด ทวีกุล. (2561). การสร้างประวัติศาสตร์ลำปางโดยปัญญาชนท้องถิ่น : กรณีศึกษาศักดิ์ รัตนชัย. วารสารการบริหารท้องถิ่น, 11(1), 57-77.

ศักดิ์ รัตนชัย. (2530). ลานนา-ล้านนา เป็นของใคร?. สืบค้น 18 กุมภาพันธ์ 2566, จาก https://www.finearts.go.th/..TZO.pdf

ศักดิ์ รัตนชัย. (2514). คู่มือ แก้วโป่งข่าม ฉบับวชิรเป๊กสูตร. สืบค้น 18 กุมภาพันธ์ 2566, จาก https://www.preechabooks.com/product/184/

Warmraw. (2551). 80 ปี สักเสริญ(ศักดิ์) รัตนชัยฯ. สืบค้น 7 กุมภาพันธ์ 2551, จาก http://onlampang.blogspot.com/2008/02/80.html

Tawatchai Tumtong. (2564). ฟ้อนเผียไหมลำปาง (อ.ศักดิ์ สักเสริญ รัตนชัย). สืบค้น 23 สิงหาคม 2564, จาก https://www.lampangculture.com/a9-view.php?id=4

เพ็ญสุภา สุขคตะ. (2564). ปริศนาโบราณคดี : เยี่ยมเยือน ‘อาจารย์ศักดิ์ รัตนชัย’ จากหัวใจ ‘ลูกสาวลำปาง’. สืบค้น 24 ตุลาคม 2564, จาก https://www.matichonweekly.com/culture/article_478453

บุรินทร์ รุจจนพันธุ์. (2566). ประวัติและผลงาน ของ อ.ศักดิ์ สักเสริญ รัตนชัย. สืบค้น 23 กุมภาพันธ์ 2556, จาก http://thaiabc.com/lampangnet/admin/3436/

___. (2556). เพลง ร่ำเปิงลำปาง มีที่มาและความหมายว่าอย่างไรบ้างครับ. สืบค้น 22 มีนาคม 2556, จาก https://pantip.com/topic/30282909

น้องแก้วส่งภาพ อ.ศักดิ์ มาให้คิดถึง น้องแก้ว ส่งภาพเก่าสมัยเมื่อ 30 ปีก่อนนู้น มาให้ชมหลายภาพ ดีใจที่น้องแก้วยังคิดถึงกัน เมื่อเห็นภาพก็ทำให้จำได้ พบว่า มีภาพหนึ่งได้ถ่ายภาพคู่กับ อ.ศักดิ์ รัตนชัย ทำให้ผมจำได้ว่าน้องแก้ว เป็นนักศึกษาของวิทยาลัยโยนก คณะนิเทศศาสตร์ รุ่น 4 มีผลงานเด่นด้านทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ได้ทำงานร่วมกับ อาจารย์ศักดิ์ รัตนชัย ขึ้นแสดงฟ้อนรำหน้าเวที เพื่อเปิดงานพิธี หรือปิดงานอยู่เป็นประจำ เป็นงานแสดงเดี่ยวบ้าง เป็นคณะนักแสดงบ้าง มีให้เห็นจนชินตา เพลงเด่นที่ฟังจนชินหู และรู้สึกตื่นเต้นทุกครั้งที่ได้ฟัง คือ เพลงร่ำเปิงลำปาง และกลายเป็นเพลงประจำจังหวัดลำปางอีกเพลงหนึ่ง เมื่อมีการแสดงด้านศิลปวัฒนธรรมบนเวทีใหญ่ ๆ ของจังหวัดลำปาง โดยเฉพาะการแสดงที่วัดพระธาตุลำปางหลวง เพราะท่อนที่ 2 ของเนื้อเพลงกล่าวถึงว่า "หันใสดังแก้วที่ปล๋ายธาตุเจ้าลำปางหลวง"
Thaiall.com